ผลกระทบของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

   


                                           

      การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4หรือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้นำแนวคิดมาจาก Klaus Schwab ซึ่งการปฎิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้งนั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการการผลิตที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จากแรงงานสัตว์และคน มาเป็นใช้พลังงานของเครื่องจักรไอน้ำ และทำให้เกิด"การเติบโตทางเศรษฐกิจสมัยใหม่" (Modern economic growth)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือ การนำไฟฟ้าและพลังงานสันดาปจากเครื่องยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตจนทำให้เกิดการผลิตจำนวนมาก (Mass production)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการการผลิต มีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  คือ ผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การรวมตัวกันของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีนาโน ซึ่งทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง ระบบการทำงานจะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาการสื่อสารและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้


        คำกล่าวของ Klaus Schwab " One of the features of this Fourth Industrial Revolution is that it does not change what we are doing, but it change us."  โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เพราะยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้นถึงแม้จะมีความใกล้เคียงกับยุค 3.0 แต่ก็มีความแตกต่างจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งก่อน ๆ  อย่างชัดเจน ซึ่งครั้งก่อนหน้า มีระยะเวลาให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงและเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตเป็นส่วนใหญ่เช่น การเปลี่ยนจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็นการใช้จักรกลในการผลิตแทน แต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต พฤติกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม เป็นยุคแห่งการหลอมรวมเทคโนโลยี เมื่อคนอยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีย่อมส่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการใช้ชีวิต การสื่อสารระหว่างกัน เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม

    ผลกระทบของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งผลกระทบต่อสังคมและบุคคลมีดังนี้

 ผลกระทบด้านบวก

1. เทคโนโลยีมีประสิทธิในการใช้งานมากขึ้นเช่น การนำ AI ไปปรับใช้ในการทำงานขององค์กร

2. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพื่อปรับตัวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์

3. สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำประโยชน์ ช่วยในการเข้าถึงข้อมูล ช่วยในการศึกษา การทำธุรกิจ ด้านการแพทย์ ฯลฯ

 ผลกระทบด้านลบ

1. เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยี คนที่สามารถเข้าถึงจะได้ประโยชน์อย่างมากมาย แต่กลุ่มคนไม่สามารถเข้าถึงได้จะไม่ได้ประโยชน์ร่วมด้วยและอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

2. ปัญหาการว่างงานที่ถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมแทนแรงงานคน ย่อมทำให้เกิดการว่างงาน

3. เกิดปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เช่น การโจรกรรมทางข้อมูลทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

4. ปัญหาเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ถดถอย การที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน อาจจะทำให้ลืมใส่ใจด้านมนุษยสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้




    อ้างอิง

รศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์. (2561). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เมื่อคนได้คนเสียเป็นคนละกลุ่มกัน.

       ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก http://www.klangpanya.in.th/wp-content/uploads/2019/07/4thind-
       rev.pdf
(2562). Global Competitiveness Index 4.0: เข็มทิศเศรษฐกิจใหม่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม         ครั้งที่ 4ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก https://www.the101.world/gci-4-0/
Angsumarin Poosimuang. (2557). เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์. 
            ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/stangsumarin/assignment- 







Comments

  1. ข้อมูลอ่านง่าย ทำให้น่าอ่านมากขึ้นครับ

    ReplyDelete
  2. การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปฏิวัติ 4.0 นี้ ส่งผลด้านบวกแก่โลกมากมาย แต่ด้านลบก็มากเช่นกัน เขียนได้ดีมากค่ะ

    ReplyDelete
  3. มีการเรียบเรียงเนื้อหาได้ดี อ่านแล้วเข้าใจสุดๆไปเลย

    ReplyDelete
  4. เนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่ายมากค่ะ น่าสนใจนะคะว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรามากมาย

    ReplyDelete
  5. เนื้อหากระชับดีค่ะ เห็นผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบได้ชัดเจนดีคะ

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

อุจไฉศรพ อาชาแห่งเกษียรสมุทร

Records management specialist