อัญมณีสีชมพู



ยินดีต้อนรับทุกคน😄
วันนี้เราจะพาไปเยือนความงามของปราสาทบันทายศรีกันนะคะ


หากเราจะพูดถึงที่สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แล้ว ก็มีมากมายหลายแห่งซึ่งแต่ละแห่งก็มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง บางแห่งอาจมีบางอย่างคล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีความสวยงามอีกหนึ่งแห่งที่ทุกคนควรหาโอกาสไปเยือนให้เห็นกับตาสักครั้ง คือปราสาทบันทายศรี เพราะสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงเหลืออยู่จะทำให้ผู้พบเห็นหลงใหลไปกับมนต์เสน่ห์ของความงามของศิลปะโบราณของปราสาทสีชมพูแห่งนี้เช่นเดียวกันกับเราและหลายๆคนจากประสบการณ์ของเราในการลงพื้นที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และปราสาทบันทายศรีก็เป็นหนึ่งในปราสาทที่สร้างความประทับใจให้แก่เราเป็นอย่างมาก อีกทั้งมัคคุเทศก์ยังได้บอกว่าปราสาทบันทายศรีเปรียบได้กับอัญมณีของประเทศกัมพูชา
แล้วเหตุใดปราสาทสีชมพูแห่งนี้จึงได้สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้มากขนาดนี้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับปราสาทบันทายศรี ปราสาทสีชมพู หรืออัญมณีแห่งกัมพูชา ให้รอบด้าน เพื่อให้รู้คำตอบที่ว่าทำไมผู้ที่ได้พบเห็นถึงชื่นชมและหลงใหลในของความงามศิลปะโบราณของปราสาทบันทายศรีก่อนอื่นมารู้จักกับแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความงามของศิลปะโบราณของปราสาทบันทายศรีตามลำดับกันเลย

ที่ตั้งของปราสาทบันทายศรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ประมาณ 30 กิโลเมตร   เป็นที่น่าสังเกตว่าปราสาทที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างกับปราสาทที่เสนาบดีหรือข้าราชการชั้นสูงสร้างจะต่างกันที่ฐาน ปราสาทที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างจะสร้างอยู่บนฐานที่ทำเป็นชั้นสูง หรือสร้างบนเนินเขาดังเช่น นครวัด ที่ส่วนปรางค์ประธานจะต้องตั้งอยู่ฐานชั้นสูงหรือที่พนมบาแค็ง ที่ปราสาทสร้างอยู่บนเนินเขา สำหรับปราสาทบันทายสรี ผู้สร้างเป็นราชครู จึงต้องสร้างปราสาทบนเนินดินอาจทำเป็นฐานเตี้ยๆ ยกพื้นขึ้นเพื่อรองรับตัวปราสาทเท่านั้น


                                                                   ที่มา : https://www.smileycambodia.com/1428-2/


ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของปราสาทบันทายศรีป็นปราสาทหินเก่าแก่ที่มาอายุมากว่า 1000 ปี ถือได้ว่าเป็นปราสาทหินที่สวยงามที่สุดของประเทศกัมพูชา ชื่อของปราสาทบันทายศรีนั้นหมายถึง ปราสาทสตรี ยังคงความงดงาม และแสดงถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมขอมได้อย่างครบถ้วนจากลวดลายบนภาพสลักที่ประดับอยู่ตามจุดต่าง ๆ ซึ่งยังมีความคมชัด และสมบูรณ์มาก
            สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เป็นศิลปะแบบบันทายศรี เป็นศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ) ตามจารึกที่ปราสาทบันทายศรีกล่าวว่าปราสาทแห่งนี้สร้างใน พ.ศ. 1510 โดยยัชญวราหะ ซึ่งเป็นพราหมณ์นักปราชญ์ เมื่อพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งเป็นราชโอรสจึงขึ้นครองราชย์แทน เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ยังทรงพระเยาว์อยู่ พราหมณ์ยัชญวราหะ จึงได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นพระอาจารย์ให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ไปพร้อม ๆ กัน พราหมณ์ยัชญวราหะได้ทูลขอที่ดินแปลงหนึ่งจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เพื่อมาสร้างปราสาทเพื่อบูชาพระศิวะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎร


                                                                   ที่มา : https://www.smileycambodia.com/1428-2/


ความงามของปราสาทบันทายศรี  เป็นเทวะสถานขนาดเล็ก แต่มีความงามทางด้านลวดลายเป็นเลิศ ศิลปะมีลักษณะพิเศษจนต้องจัดเป็นศิลปะสมัยหนึ่งโดยเฉพาะ ศิลปะแบบบันทายศรีถูกจัดให้อยู่ในยุคราว พ.ศ. 1510-1550 ก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพู เนื้อละเอียด การสลักลวดลายดูอ่อนช้อย ลายคมชัด ดูมีชีวิตชีวา  ช่างในสมัยโบราณได้สร้างอย่างบรรจงและยังได้รวบรวมเอาศิลปะในยุคเก่าหลายยุคหลายสมัย ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแบบพระโค ศิลปะแบบบาแค็ง ศิลปะแบบเกาะแกร์และแปรรูป มาอนุรักษ์ไว้ ณ ปราสาทแห่งนี้ ดูได้จากเสาติดกับผนัง เสาประดับกรอบประตู ทับหลังและหน้าบัน สำหรับภาพเทวดาและเทพธิดาที่สลักอยู่ประจำผนังเทวลัย ก็มีลักษณะน่าชมมาก เนื้อตัวไม่ใหญ่โค แต่ดูอวบอิ่ม ประดับด้วยเครื่องประดับดูสวยงาม อีกทั้งยังมีภาพสลักพระศิวะนาฎราช เมื่อผ่านโคปุระซึ่งเป็นกรอบประตูมีความสูงประมาณ 2.50 เมตร ทางเข้าปูลาดด้วยหินทราย กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร ไปตลอดแนวประมาณ 40 เมตร สองข้างทางมีเสานางเรียงสูงประมาณ 1.50 เมตร ไปจนถึงโคปุระชั้นใน ที่หน้าจั่วของโคปุระชั้นในนี้เป็นลายก้านขดคล้ายกับปั้นลมที่ปราสาทเขาพระวิหารมาก เพียงแต่ที่ปราสาทบันทายสรีมีขนาดเล็กกว่า   และมีบรรณาลัย ถัดจากโคปุระมาทางซ้ายหรือทิศใต้ เป็นบรรณาลัยที่อยู่ในสภาพที่สวยงามและดูสมบูรณ์มาก ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นเล็กน้อย ลักษณะทำเป็นสองชั้น จุดเด่นของบรรณาลัยนอกจากกรอบประตูเสาประดับกรอบประตูทำเป็นวงประดับด้วยลายใบไม้ศิลปะบันทายสรี ที่หน้าบันสลักเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฑ์ยกเขาไกรลาศให้เข้าที่

                                                                
                                                                      ที่มา : https://www.smileycambodia.com/1428-2/


ลักษณะของปราสาท  ปราสาทบันทายศรีมีกลุ่มปราสาทประธานทั้งหมด 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก องค์ปราสาทเรียงตัวกันในแนวเหนือใต้ ปราสาทองค์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีการทำมณฑปยื่นออกไปข้างหน้า องค์ปราสาทก่อด้วยหินทรายทั้งหลัง         
ฐานรองรับกลุ่มปราสาทประธานเป็นฐานบัว 1 ฐาน

                                           ที่มา https://www.smileycambodia.com/1428-2/


 สำหรับวันนี้ก็ได้แนะนำปราสาทบันทายศรีไปในหลายด้าน ให้ผู้อ่านได้รู้จักกับปราสาทสีชมพูแห่งนี้จากการอ่าน แต่ก็แนะนำให้ผู้อ่านลงพื้นที่ไปสัมผัสเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะความรู้สึกที่ได้เห็นด้วยตนเองให้บรรยากาศ ความรู้สึก และการเปิดมุมมองใหม่ ได้ดีกว่า เราแนะนำว่าให้มีมัคคุเทศก์เป็นคนในพื้นที่ด้วย ซึ่งบางทีอาจจะได้ความรู้ ข้อมูลใหม่ๆที่มาจากประสบการณ์ตรงของตัวบุคคล ที่เราอาจไม่รู้มาก่อน เราหวังว่าคนที่ได้อ่านจะสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับปราสาทสสีชมพูแห่งนี้ และอยากไปท่องเที่ยวดูสักครั้ง เช่นเดียวกันกับเราที่อยากจะกลับไปเยือนอีกสักครั้ง และสุดท้ายนี้และเราฝากให้เป็นกำลังใจและติดตามBlogต่อไปของเราด้วยนะ



                                          
                                                        
                                              

อ้างอิง

      กวิฏ ตั้งจรัสวงศ์.(ม.ป.ป.).ปราสาทบันทายศรี.ค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562, จาก

    ท่องเที่ยวกัมพูชา. (2561).ประวัติเกี่ยวกับปราสาทบันทายสรี(บันทายศรี).ค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม                                          2562,จาก
 http://altinmarkam.com/2018/12/21/ประวัติเกี่ยวกับ-ปราสาท                                                             wicsir.(2559).บันทายศรี..ปราสาทที่ว่าสวยที่สุดในเขมร.ค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562,จาก                                                         https://www.bloggang.com/mainblog.phpid=
travelsomewhere&month=30  -05-2016&group=66&gblog=3



















Comments

Popular posts from this blog

อุจไฉศรพ อาชาแห่งเกษียรสมุทร

Records management specialist

ผลกระทบของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4